หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

  • แนะนำหลักสูตร

วิศวกรรมอุตสาหการ คือสาขาหนึ่งซึ่งได้เจริญเติบโตขึ้นมาและแยกตัวออกมาจากวิศวกรรมเครื่องกล คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) ซึ่งมีผู้ให้คำจำกัดความไว้ดังต่อไปนี้ Encyclopaedia Americana คำว่า “วิศวกรรมอุตสาหการ คือ การวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงการใช้งานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับคน วัตถุดิบเครื่องจักรและอุปกรณ์ในองค์การวิศวกรรมอุตสาหการจะต้องทำการวิเคราะห์เพื่อให้องค์การสามารถเพิ่มผลผลิต เพิ่มกำไรและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน” หนังสือ Encyclopaedia Britannica กล่าวว่า “งานของวิศวกรรมอุตสาหการปกติจะรู้จักภายใต้ชื่อของการศึกษาการเคลื่อนไหว การศึกษาเวลาในการทำงาน การวางแผนและควบคุมการผลิต การวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน การออกแบบระบบงาน การควบคุมคุณภาพ การประเมินคุณค่าของตำแหน่งการวิเคราะห์องค์การ การศึกษาและปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน”

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นคำกล่าวและความเข้าใจของบุคคลทั่วๆไปเกี่ยวกับวิศวกรรมอุตสาหการ ส่วนวิศวกรรมอุตสาหการมองตนเองอย่างไรนั้นอาจทราบได้จากคำจำกัดความในหนังสือ Industrial Engineering Handbook ดังนี้

“วิศวกรรมอุตสาหการเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การปรับปรุง และการจัดตั้งระบบผสมผสานระหว่างคน วัสดุ และเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งในการนี้จะต้องใช้ความชำนาญในด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และสังคมศาสตร์ร่วมกันไป โดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีวิเคราะห์ทางวิศวกรรมศาสตร์มาใช้ออกแบบ ระบุ ทำนาย และประเมินผลการทำงานของระบบ

งานหลักของวิศวกรรมอุตสาหการ

                 กล่าวกว้างๆ ได้ว่าวิศวกรรมอุตสาหการทำงานทั่วๆ ไปของวิศวกรรมเครื่องกลได้ ยกเว้นงานพิเศษบางอย่างซึ่งต้องอาศัยความรู้ทาง thermodynamics, heat transfer หรือ fluid machine ชั้นสูง แต่วิศวกรอุตสาหการจะมีความชำนาญพิเศษเฉพาะด้านของตนในงานหลัก ซึ่งเป็นหน้าที่ของวิศวกรรมอุตสาหการ ซึ่ง  American Institute of Industrial Engineering ได้ระบุไว้ดังนี้

  1. การเลือกกระบวนการ และวิธีการประกอบชิ้นส่วนสินค้า
  2. การเลือกใช้และการออกแบบเครื่องมือและอุปกรณ์
  3. การออกแบบและการวางผังอาคารโรงงาน การวางผังติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบอุปกรณ์ขนย้ายวัสดุ อุปกรณ์เก็บวัตถุดิบ หรือเก็บสินค้า
  4. การออกแบบหรือปรับปรุงการวางแผนและควบคุมการจ่ายสินค้า หรือบริการการผลิต การเก็บสินค้าในคลัง การควบคุมคุณภาพ การซ่อมบำรุงรักษาและควบคุมโรงงานและหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านนี้
  5. การพัฒนาระบบความคุ้มต้นทุน เช่น การควบคุมงบประมาณ การวิเคราะห์ต้นทุน การจัดตั้งระบบต้นทุนมาตรฐาน
  6. การพัฒนาผลผลิต
  7. การออกแบบและจัดตั้งระบบคำนวณคุณค่าการใช้งานและ ระบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรม
  8. การออกแบบและจัดตั้งระบบข่าวสารเพื่อการบริการ
  9. การพัฒนาและจัดตั้งระบบค่าแรงงานจูงใจ
  10. การพัฒนาวิธีวัดผลงานและมาตรฐานในการทำงาน รวมทั้งการวัดผลงานและประเมิน ค่าผลงาน
  11. การพัฒนาและจัดตั้งระบบประเมินคุณค่าของตำแหน่งงาน
  12. การประเมินผลเกี่ยวกับความไว้วางใจได้ (reliability) และประสิทธิภาพในการทำงาน
  13. การวิจัยปฏิบัติการ (operations research) ซึ่งครอบคลุมหัวข้อต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ การจำลองแบบของระบบโปรแกรมเชิงเส้นตรง (linear programming) และทฤษฎีของการตัดสินใจ
  14. การออกแบบและติดตั้งระบบวิเคราะห์ข้อมูล
  15. การจัดระบบสำนักงาน วิธีการทำงานและนโยบาย
  16. การวางแผนองค์กร
  17. การสำรวจที่ตั้งโรงงาน โดยยึดถือตลาดแหล่งวัตถุดิบ แหล่งโรงงาน แหล่งเงินทุน และภาษีต่างๆ มาประกอบการ
  • คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน ช่างกลโลหะ  ช่างโลหะ  โลหะการ  ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น  ช่างท่อและประสาน  ช่างเขียนแบบเครื่องกล  หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย  โปรแกรมวิทย์-คณิต
  2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน  ช่างกลโลหะ  ช่างโลหะ  ช่างเทคนิคโลหะ  ช่างเชื่อมและโลหะแผ่น  ช่างท่อและประสาน  ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม  โดยวิธีการเทียบโอนผลการเรียน
  3. มีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551
  • โอกาสในการประกอบอาชีพ

   ​อุตสาหกรรมภายในประเทศกำลังอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้สาขาวิศวกรรมอุตสาหการจึงเป็นสาขาที่ผู้ประกอบกาอุตสาหกรรมเล็งเห็นความสำคัญฉะนั้นงานสำหรับวิศวกรสาขานี้จึงยังมีอยู่อย่างกว้างขวาง แนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานที่เพิ่มขึ้นตามภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ การขยายตัวของโรงงานต่างๆ และการพัฒนากระบวนการผลิตสำหรับหน่วยงานราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจก็ยังต้องการวิศวกรอุตสาหการ เพื่อให้ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์การผลิต และการวิจัยและวางแผนพัฒนา เพื่อลดเวลา และต้นทุน

              ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรอุตสาหการ เมื่อทำงานเพิ่มประสบการณ์และได้รับการอบรมในวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีความสามารถในการบริหารก็สามารถที่จะได้รับการเลื่อนขั้นเป็นผู้บริหารในสถานประกอบการอุตสาหกรรมได้ หรือสามารถทำธุรกิจส่วนตัวโดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการวางแผนงานการผลิต แก้ไขปรับปรุง กระบวนการผลิต และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สำหรับผู้ที่ศึกษาเพิ่มเติมถึงขั้นปริญญาโท หรือ ปริญญาเอก สามารถที่จะเป็นอาจารย์ใน มหาวิทยาลัยทั่วไปได้

  • ข้อมูลหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 150 หน่วยกิต

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 31 หน่วยกิต

    1. กลุ่มความรู้ตามหลักจริยธรรม 3 หน่วยกิต

    2. กลุ่มความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต

    3. กลุ่มความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ทักษะเชิงตัวเลข และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 หน่วยกิต

    4. กลุ่มความรู้เชิงบูรณาการ / สหวิชาการ 3 หน่วยกิต

    5. กลุ่มความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม 3 หน่วยกิต

    6. กลุ่มทักษะทางกีฬาและสุขพลามัย 1 หน่วยกิต

    7. กลุ่มทักษะทางภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิต

  2. หมวดวิชาเฉพาะ 113 หน่วยกิต

    1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 48 หน่วยกิต

    2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 46 หน่วยกิต

    3. กลุ่มวิชาชีพเลือก 19 หน่วยกิต

  3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต