หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
- แนะนำหลักสูตร
วิศวกรรมการผลิตเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงานและสินค้าในเชิงอุตสาหกรรม ตั้งแต่กระบวนการออกแบบและพัฒนา การทดสอบผลิต การออกแบบกรรมวิธีการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ การควบคุมเครื่องจักร การควบคุมการผลิต การประกอบ การควบคุมคุณภาพ จนได้เป็นสินค้าสำเร็จ ตลอดถึงการประเมินประสิทธิภาพการผลิต สามารถประกอบวิชาชีพได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้า เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบวิชาชีพทางวิศวกรรมการผลิตจะต้องเป็นผู้ที่สามารถบูรณาการความรู้ของศาสตร์ทางด้านกรรมวิธีการผลิต การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ระบบควบคุมอัตโนมัติ การบริหารการผลิต และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ได้เป็นอย่างดี
เน้นความรู้ทั้งด้านทฤษฏีและปฏิบัติ ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม ตั้งแต่กระบวนการออกแบบและพัฒนา จนผลิตได้เป็นสินค้าสำเร็จ การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย มีการบูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง มีการศึกษาและการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อเป็นเครื่องมือให้สามารถประกอบวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กลุ่มวิชาด้านวัสดุและการเลือกวัสดุ
- กลุ่มวิชาด้านกรรมวิธีการผลิต
- กลุ่มวิชาด้านการออกแบบ GD&T และวิเคราะห์ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
- กลุ่มวิชาด้านระบบควบคุมอัตโนมัติ และเครื่องจักรอัตโนมัติอุตสาหกรรม
- กลุ่มวิชาด้านการบริหารการผลิต
- กลุ่มวิชาด้านการออกแบบ การผลิต และการวิเคราะห์โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย CAD/CAM/CAE
- กลุ่มวิชาที่มุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการความรู้ทั้งด้านทฤษฏีและปฏิบัติ
นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการปลูกฝังในเรื่องจรรยาบรรณ ทัศนคติที่ดีและสำคัญต่อการประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นวิศวกรที่เป็นที่ต้องการของสังคม และสถานประกอบการ
- คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สายวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง สาขาวิชาโลหะการ สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) โปรแกรมวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง สาขาวิชาโลหะการ สาขาวิชาการต่อเรือ สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาโลหะการ สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคการหล่อ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการต่อเรือ สาขาวิชาเครื่องกล โดยวิธีการเทียบโอนผลการเรียน
- โอกาสในการประกอบอาชีพ
- งานภาคอุตสาหกรรม ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้า เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยสามารถประกอบวิชาชีพได้หลายตำแหน่งงาน เช่น
- วิศวกรออกแบบการผลิต (Manufacturing Design Engineer)
- วิศวกรควบคุมกระบวนการผลิต (Process Engineer)
- วิศวกรควบคุมคุณภาพ (Quality Control / Quality Assurance Engineer)
- วิศวกรออกแบบ (Design Engineer)
- วิศวกรโครงการ (Project Engineer)
- งานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมหรือการผลิต เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นต้น
- งานวิชาการ/นักวิจัย/ที่ปรึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพเป็นครู อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย วิศวกร ในสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานวิจัยต่างๆ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นต้น หรือสามารถประกอบอาชีพเป็นวิศวกรที่ปรึกษาในบริษัทเอกชนได
- ข้อมูลหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 148 หน่วยกิต
-
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 31 หน่วยกิต
-
กลุ่มความรู้ตามหลักจริยธรรม 3 หน่วยกิต
-
กลุ่มความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
-
กลุ่มความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ทักษะเชิงตัวเลข และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 หน่วยกิต
-
กลุ่มความรู้เชิงบูรณาการ / สหวิชาการ 3 หน่วยกิต
-
กลุ่มความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม 3 หน่วยกิต
-
กลุ่มทักษะทางกีฬาและสุขพลามัย 1 หน่วยกิต
-
กลุ่มทักษะทางภาษาและการสื่อสาร 9 หน่วยกิต
-
-
หมวดวิชาเฉพาะ 111 หน่วยกิต
-
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 51 หน่วยกิต
-
กลุ่มวิชาชีพบังคับ 47 หน่วยกิต
-
กลุ่มวิชาชีพเลือก 13 หน่วยกิต
-
-
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต